วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น

    สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547 เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง สถานที่ทางพระพุทธศาสนาที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑลในส่วนภูมิภาคให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 21/2548 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้ โครงการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัด เป็นโครงการร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปีพ.ศ. 2549 ดังนั้น จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น จึงได้มีแนวคิดจัดสร้าง “พุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น” เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และร่วม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา โดยพุทธมณฑลที่จะจัดสร้างขึ้นนั้น เป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑล ที่จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ประชุม อบรม สัมมนา และปฏิบัติธรรมของประชาชน พระภิกษุสงฆ์ หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น (City Image) และการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดขอนแก่น ในฐานะจังหวัด ศูนย์กลางของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางได้อีกทางหนึ่ง



     สถานที่ก่อสร้างโครงการ จังหวัดขอนแก่นได้หาสถานที่จัดสร้างพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น บนที่ดินสาธารณประโยชน์ “หนองอีเลิง” มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,174 ไร่ 80 ตารางวา อยู่ในพื้นที่เขตพื้นที่ของตำบลศิลาและตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (เสนอและได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมในคราวประชุมครั้งที่ 10/2549 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549)

         วัตถุประสงค์ของโครงการ การดำเนินโครงการจัดสร้างพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยวัตถุประสงค์4 ประการหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
1) ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 
2) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดขอนแก่น และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน 
3) เป็นศูนย์รวมในการประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา 4) เป็นศูนย์กลางการศึกษาและเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนฝึกอบรมปฏิบัติธรรม





ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2016/01/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99.pdf







วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


"อุทยานแห่งชาติภูพระบาท" ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 3,430 ไร่ ในเขตหมู่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน ถือเป็นอุทยานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ รวมทั้งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในปัจจุบัน 
และเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ ประเทศไทย จะนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่ง มรดกโลก
อีกด้วย




             เมื่อเราได้เข้าไปสัมผัสวิวทิวทัศน์ เราจะสามารถได้มองไปกว้างใหญ่มากมองไปจนสุดสายตา จะมีทั้งเขตป่า และ พื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน มองดูแล้วสวยงาม หายเหนื่อยไปเลย
               ซึ่งภายในอุทยานฯ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่งดังนี้...

  เริ่มต้นด้วย  
หอนางอุสา







หีบศพพ่อตา และ หีบศพท้าวบารส







วัดพ่อตา




ฉางข้าวนายพราน



และภายในกองหินที่ขึ้นเป็นปฏิมากรรม อันน่าอัศจรรย์ แล้วก็ยังมีสิ่งที่ คนโบราณได้ทำขึ้น ทั้งหินแกะสลักทั้งพระพุทธรูป และของใช้ต่างๆๆ และบางแห่งก็ยังมีภาพเขียนสี ที่ดูแปลกตาอีกด้วย






หินแกะสลัก

ร่องรอยการขีดเขียน


ภาพเขียนสี


เส้นทางการเดินท่องเที่ยวชมภาพในอุทยาน จะเป็นเส้นทางที่เดินทางได้สะดวกท่องเที่ยวชมธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ 




การเดินทางไม่ต้องกลัวหลงเพราะมีสิ่งนี้บอกไว้ตลอดเส้นทาง


พระพุทธบาทบัวบก  
เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทสมัยล้านช้าง องค์เจดีย์รูปทรงเลียนแบบพระธาตุพนม บูรณะขึ้นใหม่แล้วเสร็จในราว พ.ศ.2473 องค์เจดีย์ชั้นที่สามบรรจุพระธาตุและสิ่งของมีค่าซึ่งพบในขณะรื้อถอนกองเจดีย์เดิมที่พังทลาย









ไปปัวเราต้องไป
เขาว่ากันว่า..เป็น LANDMARK ประจำจังหวัดไปแล้วสำหรับวัดแห่งนี้ ทุ่งนาอันสวยงามดูได้ตลอดปี ช่วงปลูกก็มีสีเขียว ช่วงใกล้เก็บเกี่ยวก็สีทองเหลือง
อร่าม



วัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามหมู่บ้านเก็ต แต่เนื่องด้วยเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งทางเหนือเรียกว่า "ดอย" หรือ "ภู" จึงตั้งชื่อว่าวัดภูเก็ต หมายถึง วัดที่ตั้งอยู่บนภูบ้านเก็ต วัดภูเก็ตแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูมหัศจรรย์ มีฮวงจุ้ยถูกหลักทักษาพยากรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน มีอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ จิตรกรรมฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อแสนปัว หรือหลวงพ่อพุทธเมตตา" องค์ศักดิ์สิทธิ์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เพ่งตรงไปยังอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใต้เชิงดอย เป็นพื้นที่ทำนาของชาวบ้าน เมื่อถึงฤดูหนาวจะเกิดทะเลหมอกสุดแสนประทับใจ ข้างล่างเชิงเขามีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นน้ำซับ ซึมมาจากใต้ดินไหลรินรวมกัน เป็นลำธารให้ฝูงปลาและสัตว์น้ำอยู่อาศัย เป็นเขตอภัยทาน




ภาพพื้นท้องนา หลังวัดภูเก็ต



ภาพจิตกรรมที่ดูแล้วร่วมสมัยสุดๆ

   
    วัดภูเก็ตมีการส่งเสริมการทอผ้าไทลื้อของชุมชนซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ธรรมชาติ มีร้านจำหน่ายภายในวัดชื่อ "ภูเก็ตผ้าทอ" หมู่บ้านทอผ้าไทลื้อได้รับการคัดเลือกจากกรมศิลปากรให้เป็น 1 ใน 3 หมู่บ้านจัดทอทำตุงตามคติพื้นเมืองของคนไทลื้อเพื่อตกแต่งอุทิศเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา นับเป็นเกียรติประวัติและพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...