วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


"อุทยานแห่งชาติภูพระบาท" ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 3,430 ไร่ ในเขตหมู่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน ถือเป็นอุทยานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ รวมทั้งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในปัจจุบัน 
และเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ ประเทศไทย จะนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่ง มรดกโลก
อีกด้วย




             เมื่อเราได้เข้าไปสัมผัสวิวทิวทัศน์ เราจะสามารถได้มองไปกว้างใหญ่มากมองไปจนสุดสายตา จะมีทั้งเขตป่า และ พื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน มองดูแล้วสวยงาม หายเหนื่อยไปเลย
               ซึ่งภายในอุทยานฯ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่งดังนี้...

  เริ่มต้นด้วย  
หอนางอุสา







หีบศพพ่อตา และ หีบศพท้าวบารส







วัดพ่อตา




ฉางข้าวนายพราน



และภายในกองหินที่ขึ้นเป็นปฏิมากรรม อันน่าอัศจรรย์ แล้วก็ยังมีสิ่งที่ คนโบราณได้ทำขึ้น ทั้งหินแกะสลักทั้งพระพุทธรูป และของใช้ต่างๆๆ และบางแห่งก็ยังมีภาพเขียนสี ที่ดูแปลกตาอีกด้วย






หินแกะสลัก

ร่องรอยการขีดเขียน


ภาพเขียนสี


เส้นทางการเดินท่องเที่ยวชมภาพในอุทยาน จะเป็นเส้นทางที่เดินทางได้สะดวกท่องเที่ยวชมธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ 




การเดินทางไม่ต้องกลัวหลงเพราะมีสิ่งนี้บอกไว้ตลอดเส้นทาง


พระพุทธบาทบัวบก  
เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทสมัยล้านช้าง องค์เจดีย์รูปทรงเลียนแบบพระธาตุพนม บูรณะขึ้นใหม่แล้วเสร็จในราว พ.ศ.2473 องค์เจดีย์ชั้นที่สามบรรจุพระธาตุและสิ่งของมีค่าซึ่งพบในขณะรื้อถอนกองเจดีย์เดิมที่พังทลาย









ไปปัวเราต้องไป
เขาว่ากันว่า..เป็น LANDMARK ประจำจังหวัดไปแล้วสำหรับวัดแห่งนี้ ทุ่งนาอันสวยงามดูได้ตลอดปี ช่วงปลูกก็มีสีเขียว ช่วงใกล้เก็บเกี่ยวก็สีทองเหลือง
อร่าม



วัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามหมู่บ้านเก็ต แต่เนื่องด้วยเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งทางเหนือเรียกว่า "ดอย" หรือ "ภู" จึงตั้งชื่อว่าวัดภูเก็ต หมายถึง วัดที่ตั้งอยู่บนภูบ้านเก็ต วัดภูเก็ตแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูมหัศจรรย์ มีฮวงจุ้ยถูกหลักทักษาพยากรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน มีอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ จิตรกรรมฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อแสนปัว หรือหลวงพ่อพุทธเมตตา" องค์ศักดิ์สิทธิ์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เพ่งตรงไปยังอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใต้เชิงดอย เป็นพื้นที่ทำนาของชาวบ้าน เมื่อถึงฤดูหนาวจะเกิดทะเลหมอกสุดแสนประทับใจ ข้างล่างเชิงเขามีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นน้ำซับ ซึมมาจากใต้ดินไหลรินรวมกัน เป็นลำธารให้ฝูงปลาและสัตว์น้ำอยู่อาศัย เป็นเขตอภัยทาน




ภาพพื้นท้องนา หลังวัดภูเก็ต



ภาพจิตกรรมที่ดูแล้วร่วมสมัยสุดๆ

   
    วัดภูเก็ตมีการส่งเสริมการทอผ้าไทลื้อของชุมชนซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมืองที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ธรรมชาติ มีร้านจำหน่ายภายในวัดชื่อ "ภูเก็ตผ้าทอ" หมู่บ้านทอผ้าไทลื้อได้รับการคัดเลือกจากกรมศิลปากรให้เป็น 1 ใน 3 หมู่บ้านจัดทอทำตุงตามคติพื้นเมืองของคนไทลื้อเพื่อตกแต่งอุทิศเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา นับเป็นเกียรติประวัติและพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

    วัดป่าภูก้อน 
พุทธสถานท่ามกลางธรรมชาติ


ภาพธรรมชาติรอบๆๆวัดป่าแห่งนี้ยังคงความอุดมและสมบูรณ์
ด้วยความสง่างามและความศักดิ์สิทธิ์ของอาณาเขตพุทธอุทยาน และป่าสงวนแห่งชาติบนเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ที่กรมป่าไม้ได้ให้วัดป่าภูก้อนช่วยดูแลงานด้านป่าไม้ (เพิ่มขึ้นจากพื้นที่พุทธอุทยานเดิมอีก 2,000 ไร่) เพื่อรักษาป้องกันไฟป่าและการบุกรุกทำลายป่าล่าสัตว์ วัดป่าภูก้อนจึงเป็นที่สงบสัปปายะ วิเวกควรแก่การบำเพ็ญภาวนารักษากายวาจาและจิตใจในกรรมฐานเป็นที่สุด ดังมีผู้ได้พบเห็นหลักฐานความอัศจรรย์ของธรรมชาติแห่งนี้อยู่เสมอ คณะศรัทธา จึงร่วมกันดำริสร้างพระมหาเจดีย์ นามว่า "พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์" โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานในสถานที่อันสมควรเพื่อสักการะบูชา และแสดงกตัญญูกตเวทิตาแด่คุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และบุรพอาจารย์กรรมฐานในแถบอีสาน ทั้งยังเป็นมงคลสถานที่พุทธศาสนิกชน จะได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของป่าไม้อันให้ประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นที่ปฏิบัติขัดเกลาจิตใจ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอีสาน ซึ่งควรร่วมกันส่งเสริมรักษาอย่างจริงจังตลอดไป


                             วัดป่าภูก้อน' สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2530
วัดป่าภูก้อน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสมท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง 
อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากการดำริชอบของพุทธบริษัทสี่ผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ
และป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งกำลังถูกทำลาย




ปัจจุบันนี้วัดมีศาลาอุโบสถ 2 ชั้น 1 หลัง ซึ่งเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ชั้นบนและเป็นที่ฉันชั้นล่าง 
มีกุฏิพระ 45 หลัง เรือนครัว 1 หลัง เรือนพักฆราวาส 6 หลังถังเก็บน้ำคอนกรีต 20 ถัง และห้องน้ำจำนวนมาก โดยใช้ระบบประปาภูเขา จากฝายเก็บน้ำดินขนาดเล็กที่เป็นแหล่งต้นน้ำซับและน้ำตกในวัด ซึ่งต่อมากรมชลประทานได้บูรณะถวายให้แข็งแรงถาวรในปี 2538 และวัดยังได้ต่อระบบประปาไปถึงหมู่บ้านนาคำที่อยู่ห่างจากวัดไป 4 กม. เพื่อให้ชาวบ้านมีแหล่งน้ำใช้อย่างสะดวกและสะอาด

 


ภายในวัดมี พระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ในพระเกศพระร่วงโรจน์ศรีบูรพา ซึ่งเป็นประธานประดิษฐานหน้าองค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ มีพระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ทำด้วยหินอ่อนขาวจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี ความยาว 20 เมตร มี ลักษณะอ่อนช้อยงดงาม
                                   


                   พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี
                                                                          


ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก  http://www.watpaphukon.org/history/
                                           http://travel.mthai.com/blog/90967.html

      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...