วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

      กะเหรี่ยงคอยาว        

               ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเมืองสามหมอก หากแต่เป็นพลเมืองซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐกะยา ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่า ต่อมากะเหรี่ยงแดงที่เป็นกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมซึ่งเคยอาศัยอยู่ภายในรัฐกะยามาก่อนที่รัฐบาลทหารจะถือวิสาสะผนวกดินแดนแห่งนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ “สหภาพพม่า” ได้จับอาวุธและลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลทหารเพื่อเรียกร้องดินแดนคืน ส่งผลให้ชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวส่วนหนึ่งต้องอพยพครอบครัวย้ายมาอยู่ใกล้กับแนวเขตชายแดนไทย – พม่าร่วมกับกะเหรี่ยงกลุ่มอื่นๆ 

    ความเป็นจริงที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวก็คือ ไม่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนในเผ่าจะต้องสวมห่วงทองเหลืองไว้โดยรอบบริเวณลำคอ .....ในสมัยก่อน.....หญิงผู้ซึ่งจะสวมห่วงทองเหลืองต้องเป็นหญิงที่มีสายเลือดกะเหรี่ยงคอยาวแท้ ไม่มีเชื้อผสมจากเผ่าอื่น และต้องเป็นหญิงซึ่งเกิดในวันพุธที่ตรงกับวันเพ็ญเท่านั้น.....แต่ต่อมาไม่ว่าจะเป็นหญิงที่เกิดวันใดๆ ก็นิยมใส่ห่วงคอกันหมด ยกเว้นหญิงเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่นับถือศาสนาคริสต์จะไม่มีการสวมห่วงที่คอเลย (โดยปกติกะเหรี่ยงคอยาวจะนับถือศาสนาพุทธ , ศาสนาคริสต์ หรือนับถือ “ผี” ตามอิทธิพล – ความเชื่อของแต่ละพื้นที่ครับ) นอกจากนี้ผู้ชายในเผ่าก็จะไม่มีการสวมห่วงทองเหลืองตามร่างกายแต่กลับแต่งกายคล้ายคลึงกับกะเหรี่ยงเผ่าอื่นๆ แทน..........ด้วยเหตุนี้เองคนในเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวจึงต้องการให้คนทั่วไปเรียกพวกเขาว่า “กะยัน” [ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมลองสันนิษฐานเอาเองว่า “กะยัน (Kayan)” น่าจะหมายถึง “ผู้คนแห่งรัฐกะยา(Kayah State’s People)” ล่ะมั้งครับ ?] แทนที่จะเรียกพวกเขารวมๆ กันทั้งหมดด้วยชื่อ “ปาดอง” ดังที่นักท่องเที่ยวหลายๆ คนเคยคุ้นชิน [แต่ในบทความชิ้นนี้.....ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) จะขออนุญาตเรียกพวกเขาว่า “กะเหรี่ยงคอยาว” ตามความนิยมโดยทั่วๆ ไปของชาวไทย เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจครับ]

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thongteaw.com/Travel_tour_content_

      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...