วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วัดพระธาตุผาเงา


วัดพระธาตุผาเงา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ 
ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจัน และมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนชาวบ้านเรียกดอยลูกนี้ว่า "ดอยคำ" แต่ต่อมาช่วงหลังๆ ชาวบ้านเรียกว่า "ดอยจัน"[1]



จากพงศาวดารโยนกบอกว่า ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ. 494 - 512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์ ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้ 
พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม[2]
ส่วนผู้สร้างพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด อยู่บน "ดอยคำ" และ "ดอยจัน" ตามลำดับ เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้) ช่วงปี พ.ศ. 996-1007 พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยคำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า "ตอดจันทร์" เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย เช่น ถูกแดด - ฝน และลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาดการดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้ [3]

พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ วัดพระธาตุผาเงา



สร้างขึ้นด้วยความดำริของผู้มีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์และทรง เททองพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ภายใน พระบรมธาตุพุทธ-นิมิตเจดีย์ ด้านทิศเหนือ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๔ พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ออกแบบโดย อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี (ปัจจุบัน ศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี)


การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๕ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ทั้งนี้ได้ดำเนินงานตลอดมา ด้วยความยากลำบากและมีอุปสรรคนานาประการจนจวบปีพ.ศ.๒๕๓๖จึงแล้วเสร็จประธานคณะกรรมการจึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบาทจ้าอยู่หัวโดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมยอดฉัตรและทรงเฉลิมฉลองพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๖



พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ได้สร้างขึ้นครอบพระเจดีย์เจ็ดยอดไว้ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าภายในมีภาพเขียนฝาผนังพระราชประวัติพระนางจามเทวี ด้านนอกสามารถเดินรอบได้ลักษณะคล้ายป้อมปราการ สามารถมองเห็นภูมิทัศน์ประเทศลาวและพม่าได้ขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ความยาว ๔๐ เมตร ความสูง ๓๙ เมตร สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๓๒,๐๐๐,๐๐๐บาท (สามสิบสองล้านบาทถ้วน)

พระประธานใน พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์


 วิหาร วัดพระธาตุผาเงา

 ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org , http://m.touronthai.com/article.php?place_id=1041









วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560


วิถีชีวิต ประมง ณ บึงหนองหลวง เชียงราย 




 ยามค่ำแลงเมื่อแสงอ่อน 





ข้างบนคือฟ้า ข้างหน้าคือเขา



เรียบและง่าย คล้ายว่าไม่มีไรคิด แต่มันก็คือชีวิตที่ต้องดิ้นกันไป

ประวัติหนองหลวงเชียงราย
หนองหลวง เป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 9000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จำนวนกว่า 1000 ไร่ ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จำนวนกว่า 1000 ไร่ และตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงรายกว่า 6000 ไร่ ทั้งนี้บริเวณรอบปากอ่างเก็บน้ำหนองหลวงเชียงราย มีเกาะปรากฎอยู่ทั้งหมด คือ เกาะแม่หม้าย เกาะดงมะเฟือง เกาะสันป่าเป้า เกาะสันกลาง เกาะทองกวาว เกาะไหมเย็บ(เกาะแม่หยิบ)เกาะขนุน และเกาะไผ่เหมย โดยที่ผ่านมามีชาวบ้าน และกลุ่มนักสำรวจตรวจพบเสาวิหาร วัด โบราณสถาน ปากถ้ำ อยู่เลยจากฝั่งอ่างเข้าไปในเขตเกาะแม่หม้าย ถึงเกาะดงมะเฟือง อีกทั้งยังขุดพบฆ้องโบราณขนาดใหญ่ จำนวน 12 ใบในบริเวณหน้าศาลเจ้าแม่หนองหลวงเชียงราย จึงสันนิษฐานกันว่าอ่างเก็บน้ำหนองหลวงเชียงราย เป็นเมืองโยนกไชยบุรี ซึ่งล่มจมลงไปในสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ เมื่อพุทธศักราช 370 โดยเหตุอาถรรพ์ที่ชาวเมืองฆ่าและพากันกินเนื้อปลาไหลเผือก จนเกิดอาเพศแผ่นดิน ทำให้เมืองจมหายไปในสมัยอาณาจักรเชียงแสน
จุดกำเนิดหนองหลวงในสมัยก่อน
ในบริเวณหนองน้ำหรือหนองหลวงในสมัยก่อนเป็นเพียงที่ราบลุ่มแต่ก็มีน้ำขังอยู่ตลอดปีและในบริเวณรอบๆข้างเป็นที่ที่ชาวบ้านจับจองที่ดินไว้เพื่อทำมาหากิน แต่ในวิสัยทัศน์และทรรศนคติของบรรพบุรุษและผู้นำของชาวหนองหลวง ที่เห็นว่าลุ่มน้ำแห่งนี้คงจะมีประโยชน์เกี่ยวกับน้ำกินน้ำใช้ใจอนาคตจึงได้พากันเสียสละที่ดินของตนเองในบริเวณรอบๆของหนองน้ำนี้ให้เป็นของสาธารณะเพื่อที่จะใช้หนองน้ำบริเวณนี้ให้เป็นที่รองรับน้ำฝนไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชน และความคิดนี้ก็ได้สร้างหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งสมควรอย่างยิ่งในการช่วยกันอนุรักษ์สภาพน้ำของหนองหลวงที่บรรพบุรุษได้สร้างทิ้งไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังของชาวหนองหลวง  

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://nongluang.wordpress.com


      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...