วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วัดภูมินทร์ น่าน
       
เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อ ตำบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2139  ต่อมาอีกประมาณ  300 ปี  มีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4)  ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง  7 ปี



            ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ ที่เป็นหนึ่งเดียว คือ  เป็นวัดที่สร้างทรงจัตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่  2 ตัว แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว  ตรงใจกลางพระอุโบสถจัตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่  4 องค์ หันพรพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศหันเบื้องปฤษฏาค์ชนกัน ประดับนั่งบนฐานซุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
            


อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ในหลังเดียวกัน โดยใช้อาคารในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เป็นพระวิหาร และอาคารแนว เหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2      
            
           หอไตรวัดภูมินทร์ ลักษณะ สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิม เมื่อ 5 มีนาคม 2537 อาคารสี่เหลียมทรงสูงสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีบันใดภายในตัวอาคาร ชั้นบนมีระเบียง หลังคามีช่อฟ้าใบระกา

 พระประธานจตุรทิศ ปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ ทั้งนี้มีเรื่องเล่ากันว่า หากใครจะไปกราบขอพรพระจตุรทิศ ให้พยายามสังเกตหน้าองค์พระ 1 ในทั้งสี่ทิศ ซึ่งจะมีอยู่เพียงทิศเดียวเท่านั้น ที่หน้าองค์พระประธานจะมีลักษณะยิ้มแย้มมากกว่าทั้ง 3 ทิศที่เหลือ ก็ให้กราบขอพรยังทิศนั้นแล้วจะได้สมปรารถนาตามที่ตั้งใจไว้
ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวชาดก  วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล การท่อผ้าด้วยกี่ทอมือ  การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ     สิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ บานประตูแกะสลักลึกเป็น 3 ชั้น บนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ 4 นิ้วสลักเป็นลวดลายเครือเถา ที่ทั้งดอกและมีผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด ฝีมือช่างเมืองน่าน
คำกลอนภาษาคำเมือง ที่แต่งขึ้นมาสำหรับภาพนี้ ว่าไว้ว่า…
"กำฮักน้องกูปี้จั๊กเอาไว้ในน้ำก็กั๋วหนาว
จั๊กเอาไว้ปื้นอากาศกลางหาว
ก็กั๋วหมอกเหมยซ่อนดาวลงมาขะลุ้ม
จั๊กเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม
ก็กั๋วเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป
ก็เลยเอาไว้ในอกในใจ๋ตัวจายปี้นี้
จั๊กหื้อมันไห้ อะฮิ อะฮี้
ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา"

คำแปล “ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น”

 
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://www.uncledeng.com/portfolio-view/wat-phumin/
http://www.rd.go.th/nan/57.0.html
http://www.teawteenai.com/


วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560


วิถีชีวิตและวัฒนธรรม 

 THAILAND 1G

มาครั้งนี้ผมจะเล่าวิถีชีวิตของชนบทในชุมชนแถบภาคเหนือตอนบน ว่าเขามีชีวิตความเป็นอยู่กันอย่างไรตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ตามมาดูกันครับ

ตื่นเช้าใส่บาตรพระ
การตักบาตร คือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาตเพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ
ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน


สายๆๆออกมาทำงาน

งานโดยส่วนมากที่จะทำกันก็จะเป็นงานเกี่ยวกับเกษตรกรรม เพื่อหาเลี้ยงปากท้องกัน งานก็จะมีทั้งปี ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ก็จะมีทั้งทำนา ทำสวน ทำไร่ วนเวียนอยู่แบบนี้ทั้งปี บางปีก็ทำเพื่อพอกินในครอบครัว บางปีฝนดีอากาศเป็นใจ ก็พอที่จะเหลือขายกันบ้าง ในส่วนคนที่อายุเยอะๆ (คนแก่) ก็จะอยู่บ้านทำงานเล็กๆน้อยๆๆ 







ตอนเย็นได้เวลาพักผ่อนล้อมวง กินข้าว

ชุมชนเราเป็นชุมชนที่อยู่กันเป็นครอบครัว บ้านลูกติด บ้านแม่ เวลาเราเลิกงานมาตอนเย็นๆก็จะมาล้อมวงกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากัน ช่วยกันหาก็ต้องพร้อมกันกิน  


ยามมีงานเราก็ต้องออกมาแสดง






       ภาพที่ได้เห็นในเบื้องต้น จะเป็นภาพ วิถีชีวิตของ ชุมชนล้านนา ในทางภาคเหนือตอนบนของไทย คนในแต่ละภาคนั้น จะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะ เหนือ กลาง อิสาน และ ใต้  เรามีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเรา จงช่วยกันเก็บความเป็นไทยนี้ไว้ให้ตราบนานเท่านาน





วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วัดพระธาตุผาเงา


วัดพระธาตุผาเงา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ 
ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจัน และมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนชาวบ้านเรียกดอยลูกนี้ว่า "ดอยคำ" แต่ต่อมาช่วงหลังๆ ชาวบ้านเรียกว่า "ดอยจัน"[1]



จากพงศาวดารโยนกบอกว่า ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ. 494 - 512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์ ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้ 
พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม[2]
ส่วนผู้สร้างพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด อยู่บน "ดอยคำ" และ "ดอยจัน" ตามลำดับ เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้) ช่วงปี พ.ศ. 996-1007 พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยคำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า "ตอดจันทร์" เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย เช่น ถูกแดด - ฝน และลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาดการดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้ [3]

พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ วัดพระธาตุผาเงา



สร้างขึ้นด้วยความดำริของผู้มีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์และทรง เททองพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ภายใน พระบรมธาตุพุทธ-นิมิตเจดีย์ ด้านทิศเหนือ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๔ พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ออกแบบโดย อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี (ปัจจุบัน ศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี)


การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๕ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ทั้งนี้ได้ดำเนินงานตลอดมา ด้วยความยากลำบากและมีอุปสรรคนานาประการจนจวบปีพ.ศ.๒๕๓๖จึงแล้วเสร็จประธานคณะกรรมการจึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบาทจ้าอยู่หัวโดยกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมยอดฉัตรและทรงเฉลิมฉลองพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๖



พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ได้สร้างขึ้นครอบพระเจดีย์เจ็ดยอดไว้ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าภายในมีภาพเขียนฝาผนังพระราชประวัติพระนางจามเทวี ด้านนอกสามารถเดินรอบได้ลักษณะคล้ายป้อมปราการ สามารถมองเห็นภูมิทัศน์ประเทศลาวและพม่าได้ขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ความยาว ๔๐ เมตร ความสูง ๓๙ เมตร สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๓๒,๐๐๐,๐๐๐บาท (สามสิบสองล้านบาทถ้วน)

พระประธานใน พระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์


 วิหาร วัดพระธาตุผาเงา

 ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org , http://m.touronthai.com/article.php?place_id=1041









วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560


วิถีชีวิต ประมง ณ บึงหนองหลวง เชียงราย 




 ยามค่ำแลงเมื่อแสงอ่อน 





ข้างบนคือฟ้า ข้างหน้าคือเขา



เรียบและง่าย คล้ายว่าไม่มีไรคิด แต่มันก็คือชีวิตที่ต้องดิ้นกันไป

ประวัติหนองหลวงเชียงราย
หนองหลวง เป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 9000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จำนวนกว่า 1000 ไร่ ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จำนวนกว่า 1000 ไร่ และตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงรายกว่า 6000 ไร่ ทั้งนี้บริเวณรอบปากอ่างเก็บน้ำหนองหลวงเชียงราย มีเกาะปรากฎอยู่ทั้งหมด คือ เกาะแม่หม้าย เกาะดงมะเฟือง เกาะสันป่าเป้า เกาะสันกลาง เกาะทองกวาว เกาะไหมเย็บ(เกาะแม่หยิบ)เกาะขนุน และเกาะไผ่เหมย โดยที่ผ่านมามีชาวบ้าน และกลุ่มนักสำรวจตรวจพบเสาวิหาร วัด โบราณสถาน ปากถ้ำ อยู่เลยจากฝั่งอ่างเข้าไปในเขตเกาะแม่หม้าย ถึงเกาะดงมะเฟือง อีกทั้งยังขุดพบฆ้องโบราณขนาดใหญ่ จำนวน 12 ใบในบริเวณหน้าศาลเจ้าแม่หนองหลวงเชียงราย จึงสันนิษฐานกันว่าอ่างเก็บน้ำหนองหลวงเชียงราย เป็นเมืองโยนกไชยบุรี ซึ่งล่มจมลงไปในสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ เมื่อพุทธศักราช 370 โดยเหตุอาถรรพ์ที่ชาวเมืองฆ่าและพากันกินเนื้อปลาไหลเผือก จนเกิดอาเพศแผ่นดิน ทำให้เมืองจมหายไปในสมัยอาณาจักรเชียงแสน
จุดกำเนิดหนองหลวงในสมัยก่อน
ในบริเวณหนองน้ำหรือหนองหลวงในสมัยก่อนเป็นเพียงที่ราบลุ่มแต่ก็มีน้ำขังอยู่ตลอดปีและในบริเวณรอบๆข้างเป็นที่ที่ชาวบ้านจับจองที่ดินไว้เพื่อทำมาหากิน แต่ในวิสัยทัศน์และทรรศนคติของบรรพบุรุษและผู้นำของชาวหนองหลวง ที่เห็นว่าลุ่มน้ำแห่งนี้คงจะมีประโยชน์เกี่ยวกับน้ำกินน้ำใช้ใจอนาคตจึงได้พากันเสียสละที่ดินของตนเองในบริเวณรอบๆของหนองน้ำนี้ให้เป็นของสาธารณะเพื่อที่จะใช้หนองน้ำบริเวณนี้ให้เป็นที่รองรับน้ำฝนไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชน และความคิดนี้ก็ได้สร้างหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งสมควรอย่างยิ่งในการช่วยกันอนุรักษ์สภาพน้ำของหนองหลวงที่บรรพบุรุษได้สร้างทิ้งไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังของชาวหนองหลวง  

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://nongluang.wordpress.com


      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...