วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


"อุทยานแห่งชาติภูพระบาท" ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 3,430 ไร่ ในเขตหมู่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน ถือเป็นอุทยานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ รวมทั้งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในปัจจุบัน 
และเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ ประเทศไทย จะนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่ง มรดกโลก
อีกด้วย




             เมื่อเราได้เข้าไปสัมผัสวิวทิวทัศน์ เราจะสามารถได้มองไปกว้างใหญ่มากมองไปจนสุดสายตา จะมีทั้งเขตป่า และ พื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน มองดูแล้วสวยงาม หายเหนื่อยไปเลย
               ซึ่งภายในอุทยานฯ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่งดังนี้...

  เริ่มต้นด้วย  
หอนางอุสา







หีบศพพ่อตา และ หีบศพท้าวบารส







วัดพ่อตา




ฉางข้าวนายพราน



และภายในกองหินที่ขึ้นเป็นปฏิมากรรม อันน่าอัศจรรย์ แล้วก็ยังมีสิ่งที่ คนโบราณได้ทำขึ้น ทั้งหินแกะสลักทั้งพระพุทธรูป และของใช้ต่างๆๆ และบางแห่งก็ยังมีภาพเขียนสี ที่ดูแปลกตาอีกด้วย






หินแกะสลัก

ร่องรอยการขีดเขียน


ภาพเขียนสี


เส้นทางการเดินท่องเที่ยวชมภาพในอุทยาน จะเป็นเส้นทางที่เดินทางได้สะดวกท่องเที่ยวชมธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ 




การเดินทางไม่ต้องกลัวหลงเพราะมีสิ่งนี้บอกไว้ตลอดเส้นทาง


พระพุทธบาทบัวบก  
เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทสมัยล้านช้าง องค์เจดีย์รูปทรงเลียนแบบพระธาตุพนม บูรณะขึ้นใหม่แล้วเสร็จในราว พ.ศ.2473 องค์เจดีย์ชั้นที่สามบรรจุพระธาตุและสิ่งของมีค่าซึ่งพบในขณะรื้อถอนกองเจดีย์เดิมที่พังทลาย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...