วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

ร้านกาแฟบ้านไทลื้อ 
ชื่อนี่ใครก็ว่า ชิล สุดๆ















ร้านกาแฟบ้านไทลื้อ ตั้งอยู่ในอำเภอปัว จังหวัดน่าน เส้นทางขึ้นเหนือ ซึ่งนับว่าเป็นอีกอำเภอที่มีผู้คนหลงใหลในความงดงามของธรรมชาติในบริเวณนี้กันมาก ยิ่งในส่วนของทุ่งนาที่มีความสวยงามงามเเล้ว นับว่าเป็นจุดไฮไลท์ของอำเภอนี้เลยก็ว่าได้ เเละจะมีร้านกาเเฟที่ดูแล้วน่านั่งเป็นที่สุด มานั่งทำงานคุยงานหรือมานอนอ่านหนังสือก็ถือว่าไม่แปลกสถานที่เเห่งนี้ก็นับว่าเป็นร้านที่สุดชิล ที่เหล่านักท่องเที่ยวให้ความนิยมเเวะมาเที่ยวชมเเละนั่งชิลๆ กับบรรยากาศที่สุดเเสนจะสบายอารมณ์เลยทีเดียว มาแต่ละครั้งหรือมาต่างเวลาก็จะพบกับบรยากาศที่แตกต่างกัน แล้วแต่การตกแต่งของธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์ ความงาม 
    ส่วนตัวของเจ้าของ Blog เองแค่อยากไปถ่ายรูปสะพานไม้ ที่ดูแล้วแปลกตาก็แค่นั้น หุๆๆๆ



วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559



ของเล่นเพิ่มมูลค่า ความงามตามฉบับ ชุดประจำชาติที่ยึดถือกันมา

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

สวนหลวง ร.๙ ยามเย็นเป็นสง่าศรี










รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว

สวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่ที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ สวนหลวง ร.9 เปิดให้เข้าชมสวนทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 – 19.00 น. แต่เก็บค่าผ่านประตูคนละ 10 บาท ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ติดต่อได้ที่สำนักงานมูลนิสวนหลวง ร.9 ณ อาคารชายชล คิดค่าจอดรถ รถจักรยานยนต์ คันละ 5 บาท รถยนต์ คันละ 10 บาท รถตู้ คันละ 20 บาท รถบัส คันละ 30 บาท
สวนหลวง ร.9 แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 บริเวณ ดังนี้ บริเวณ ที่ 1 อุทยานมหาราช พื้นที่ประมาณ 21 ไร่ ประกอบด้วยหอรัชมงคล ด้านหน้าเป็นสวนราชพฤกษ์ และสระน้ำพุขนาดใหญ่ 3 สระ ตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงาม  
บริเวณที่ 2 สวนพฤกษศาสตร์ พื้นที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นที่รวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่จัดปลูกตามหลักอนุกรมวิธานและนิเวศวิทยา เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การค้นคว้าวิจัยและการอนุรักษ์ มีป้ายชื่อวงศ์และป้ายชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้ บริเวณนี้ประกอบด้วย หอพฤกษศาสตร์  เรือนเฟินและกล้วยไม้ อาคารพรรณไม้ในร่ม อาคารจีโอเดสิกโดม พลับพลายอดกลางสระบัว  อาคารถกลพระเกียรติ 
บริเวณที่ 3 ตระพังแก้ว พื้นที่ประมาณ 40 ไร่ เป็นที่รองรับน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง ในเขตชานเมืองด้านตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร ตามแนวพระราชดำริ ที่พระราชทานไว้แต่เดิม และยังใช้ประโยชน์ เพื่อกิจกรรมทางน้ำ ริมฝั่งเป็นที่ตั้งของอาคารชายชล ซึ่งเป็นที่ทำงานของคณะกรรมการบริหารสวนหลวง ร.9  มูลนิธิสวนหลวง ร.9  ร้านขายของที่ระลึก และร้านอาหาร
บริเวณที่ 4 สวนรมณีย์ พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นสวนซึ่งมีลักษณะเลียนแบบธรรมชาติของท้องถิ่นที่สวยงาม โดยได้นำหินธรรมชาติจากหลายภาคของประเทศมาจัดวางให้ดูเป็นป่าเขา พร้อมกับนำพรรณไม้จากป่าต่างๆ มาปลูกให้ดูผสมกลมกลืนกันเป็นธรรมชาติจริงๆ เหมือนกับได้จำลองป่า เขา น้ำตก  ลำธาร มาไว้ใจกลางเมือง มีสวนพรรณไม้หอมรอบบริเวณศาลาพุฒ-จันทน์ ริมฝั่งด้านตระพังแก้วมีประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ “บรมราชินีนาถบุปผาลัย” ซึ่งจำลองพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถไว้
บริเวณที่ 5 สวนน้ำพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดทำ ”สวนน้ำ” ในบริเวณสวนหลวง ร.๙ เพื่อเป็นการจำลองให้คล้ายกับ “พรุ” ตามสภาพธรรมชาติ สำหรับใช้เพื่อการศึกษา และเพื่อความรื่นรมย์ให้กับผู้เข้าชม
บริเวณที่ 6 สนามราษฎร์และศูนย์กีฬาพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ประกอบด้วยสนามกว้างใหญ่    และสังคีตศาลา ซึ่งเป็นเวทีแสดงกลางแจ้ง สำหรับใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการจัดตลาดนัดต้นไม้ ในงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.๙ ส่วนบริเวณศูนย์กีฬา ประกอบด้วยสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สำหรับบริการกับประชาชนทั่วไป
สวนนานาชาติ ภายในสวนหลวง ร.9 ยังมีสวนนานาชาติซึ่งเป็นสวนที่จัดแสดงลักษณะสวนของประเทศต่างๆคือ – สวนจีน สวนญี่ปุ่น เป็นสวนของโลกภาคตะวันออก – สวนสเปน สวนอังกฤษ สวนฝรั่งเศส และสวนอิตาลี เป็นสวนของโลกภาคตะวันตก – สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ได้สร้างอาคารจิโอเดสิคโดม ซึ่งใช้สำหรับปลูกรวบรวมพืชทนแล้ง
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%A3-9--113

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559


วัดเก่าแดนเหนือ ถิ่นเหนือท่าวังผา
งามตา ด้วยจิตรกรรม นานมา
ว่าด้วยชีวิตไทลื้อ คือความสวยที่งามตา
ล้ำค่าวัฒนธรรม







ประวัติวัดหนองบัว
            วัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่าน จากคำบอกเล่าไว้เดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่ที่ริมหนองบัว (หนองน้ำประจำหมู่บ้าน) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันไม่มีซากโบราณสถานเหลืออยู่เลย ต่อมาได้มีการย้ายวัดมาที่ปัจจุบันนี้ วัดหนองบัวสันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2405 โดยการนำของครูบาหลวงสุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้านหนองบัวสร้างขึ้น จึงทำให้วิหารหนองบัวแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยนี้ และพระวิหารหนองบัวแห่งนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังแบบโบณาณที่สวยงามอีกด้วย
ประวัติวัดหนองบัวและประวัติจิตรกรรมไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ การสืบประวัติจะต้องอาศัยข้อมูลจากสองทางด้วยกันคือ สืบจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และสืบจากการสังเกตจากรายละเอียดที่แสดงไว้ในภาพเขียน
   การสืบประวัติจากคำบอกเล่า ท่านพระครูมานิตย์บุญการ หรือ ครูบาปัญญา ผู้เป็นชาวบ้านหนองบัวโดยกำเนิดถือว่าเป็นผู้รู้ท่านหนึ่งได้เล่าไว้ว่านายเทพผู้เป็นบิดาของท่านได้เป็นทหารของเจ้าอนันต๊ะยศ เจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้น( เจ้าอนันต๊ะยศ ครองเมืองน่านเมื่อ พ.ศ.2395 –2434 )ต่อมานายเทพได้ติดตามทัพไปรบที่เมืองพวนซึ่งเป็นเมืองในแคว้นหลวงพระบาง หลังจัดการศึกเรียบร้อยแล้วจึงยกทัพกลับเมืองน่าน นายเทพได้นำช่างเขียนลาวพวนชื่อว่า ทิดบัวผัน มาเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวแห่งนี้ โดยมีพระภิกษุวัดหนองบัวชื่อ แสนพิจิตร และนายเทพเป็นผู้ช่วยเขียนเสร็จ
   การสืบประวัติจากรายละเอียดของจิตรกรรม ภาพเรือกลไฟและรูปทหารชาวฝรั่งที่ผนังด้านทิศเหนือเป็นสิ่งที่สามารถ นำมาประเมินอายุของจิตรกรรมได้ ตามประวัติของเรือกลไฟว่าเรือกลไฟมีแหล่งกำเนิดในยุโรปและอเมริกา ในประเทศไทยมีหลักฐานในจดหมายเหตุหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเรือกลไฟใช้ตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่าช่างเขียนคงเห็นและนำแบบมาเขียนไว้ และยังมีรูปปืนยาวแบบฝรั่งคือมีดาบติดปลายปืนด้วย เดิมคนไทยรู้จักใช้ปืนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รูปแบบปืนมีปลายกระบอกยาวแต่ไม่ปรากฏว่ามีดาบปลายปืน ปืนที่ตัดดาบปลายปืนเป็นแบบฝรั่งที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ถึง รัชการที่ เป็นต้นมา จึงประเมินอายุจิตรกรรมว่าคงอยู่ในราวสมัย รัชการที่ ถึง รัชการที่ 5
   เรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่เรื่อง จันทคาธชาดก และเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเรื่องจันทคาธชาดกนี้ เป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่อันดับที่ 11 ในหนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม จันทคาชาดก เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุลบุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณาเป็นต้น
   สิ่งสะท้อนจากภาพจิตรกรรม จิตรกรรมฝาผนังทุกแห่งย่อมมีคุณค่าในแง่ของการเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้น โดยเฉพาะความเป็นชาวบ้าน ซึ่งมีลักษณะเรียบง่าย โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สะท้อนความเป้นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงเสมือนเปิดโอกาศให้คนดูได้จินตนาการได้อย่างกว้างไกลทำให้รู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนาน ใจคอเบิกบานชอบกล สิ่งสะท้อนจากภาพเขียนที่เห็นได้ชัดคือการแต่งกาย โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม และปัจจุบันยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของชาวไทลื้ออีกด้วย


ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://www.rd.go.th/nan/62.0.html

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559


วัดหลวงดังกลางเวียงน่าน   ได้มองผ่านเห็นแล้วเป็นสุขใจ 
วัดพระธาตุสงบใสอยู่ไม่ไกลตัวเมืองน่าน ลานคนเมียง(คนล้านนา)
นาม พระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ใครได้ผ่านต่างชื่นชม งามวิถี




วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (วัดหลวงกลางเวียง)

นมัสการเจดีย์ช้างล้อมทรงสุโขทัย    อิ่มไหว้พระทองคำปางลีลา
           อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์
           ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ
           พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก
          หอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ดังปรากฏในพระประวัติ ของพระองค์ว่า "ร.ศ. 127 พ.ศ. 2453 ก่อสร้างหอพระไตรปิฏก ในบริเวณวัดช้างค้ำ 1 หลัง 8 ห้อง ยาว 16 วา 1 ศอก กว้าง 5 วา 2 ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ 13 วา หลังคาทำเป็นชั้น ๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สัก ทำอย่างแน่นหนา มีเพดานจั่ว 2 ข้าง และเพดาน ทำด้วยลวดลายต่าง ๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง กับจีนอิ๋วจีนซาง เป็นสล่าสิ้นเงิน 12,558 บาท
           ลักษณะ โครงสร้างสถาปัตยกรรมมีลักษณะอย่างเดียวกับวิหารและโบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้า คู่กับ พระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสาราย รับหลังคาเชิงชายแทนผนัง และก่อผนังปิด ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูนปั้น เป็นรูปยอดปราสาท ทำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนัง เป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบัน ใช้แผ่นไม้เรียงต่อกัน เป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้น เป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลัก ลายกนก เป็นรูปสามเหลี่ยม สลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึก เข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมาก ใช้เป็นที่เก็บ พระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหาร ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://www.nan.go.th/webjo/index.php?option=com_content&view=article&id=19:2009-07-02-14-19-23&catid=7:2009-07-01-03-16-09&Itemid=6


น้ำตกแม่สา : ความสวยงามที่ไม่ควรพลาดการเดินทางไม่ยากเหมาะกับการเดินท่องเที่ยวพักผ่อน

                                        ทางเดินแม้ดูแสนลำบากแต่หากตั้งใจก็ไปถึงได้


รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกแม่สาไม่เพียงเป็นน้ำตกที่สวยงาม หากยังมีสายน้ำไหลชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี โดยน้ำตกแม่สานั้นเป็นน้ำตก 10 ชั้น แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 100-500 เมตร และชั้นที่สวยที่สุดต้องยกให้น้ำตกชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 7 ที่สามารถลงเล่นน้ำได้แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง ว่ากันว่าน้ำตกแม่สาแห่งนี้ในช่วงปลายฤดูฝนจะมีความสวยงามที่สุด
ทั้งนี้ น้ำตกแต่ละชั้นนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้
·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 1 ชื่อ น้ำตกผาลาด
·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 2 ชื่อ น้ำตกวังยาว
·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 3 ชื่อ น้ำตกผาแตก

·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 4 ชื่อ น้ำตกวังสามหมื่น
·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 5 ชื่อ น้ำตกวังท้าวพรหมมา

·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 6 ชื่อ น้ำตกตาดเหมย

·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 7 ชื่อ น้ำตกพนารมย์

·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 8 ชื่อ น้ำตกผาเงิบ
·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 9 ชื่อ น้ำตกวัดห่าง

·      น้ำตกแม่สาชั้นที่ 10 ชื่อ น้ำตกลานเท
 ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายแม่ริม-สะเมิง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
ขอบคุณข้อมูลจาก:http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2--4012


วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559


ท้องฟ้ากะไร่ชา..ท่ามกลางหุบเขาแดนเหนือสุดแห่งแดนสยาม เป็นแดนแห่งความสวยงามด้วยความเขียวขจี ของไร่ชา





      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...