วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559


วัดเก่าแดนเหนือ ถิ่นเหนือท่าวังผา
งามตา ด้วยจิตรกรรม นานมา
ว่าด้วยชีวิตไทลื้อ คือความสวยที่งามตา
ล้ำค่าวัฒนธรรม







ประวัติวัดหนองบัว
            วัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่าน จากคำบอกเล่าไว้เดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่ที่ริมหนองบัว (หนองน้ำประจำหมู่บ้าน) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันไม่มีซากโบราณสถานเหลืออยู่เลย ต่อมาได้มีการย้ายวัดมาที่ปัจจุบันนี้ วัดหนองบัวสันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2405 โดยการนำของครูบาหลวงสุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้านหนองบัวสร้างขึ้น จึงทำให้วิหารหนองบัวแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยนี้ และพระวิหารหนองบัวแห่งนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังแบบโบณาณที่สวยงามอีกด้วย
ประวัติวัดหนองบัวและประวัติจิตรกรรมไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ การสืบประวัติจะต้องอาศัยข้อมูลจากสองทางด้วยกันคือ สืบจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และสืบจากการสังเกตจากรายละเอียดที่แสดงไว้ในภาพเขียน
   การสืบประวัติจากคำบอกเล่า ท่านพระครูมานิตย์บุญการ หรือ ครูบาปัญญา ผู้เป็นชาวบ้านหนองบัวโดยกำเนิดถือว่าเป็นผู้รู้ท่านหนึ่งได้เล่าไว้ว่านายเทพผู้เป็นบิดาของท่านได้เป็นทหารของเจ้าอนันต๊ะยศ เจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้น( เจ้าอนันต๊ะยศ ครองเมืองน่านเมื่อ พ.ศ.2395 –2434 )ต่อมานายเทพได้ติดตามทัพไปรบที่เมืองพวนซึ่งเป็นเมืองในแคว้นหลวงพระบาง หลังจัดการศึกเรียบร้อยแล้วจึงยกทัพกลับเมืองน่าน นายเทพได้นำช่างเขียนลาวพวนชื่อว่า ทิดบัวผัน มาเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวแห่งนี้ โดยมีพระภิกษุวัดหนองบัวชื่อ แสนพิจิตร และนายเทพเป็นผู้ช่วยเขียนเสร็จ
   การสืบประวัติจากรายละเอียดของจิตรกรรม ภาพเรือกลไฟและรูปทหารชาวฝรั่งที่ผนังด้านทิศเหนือเป็นสิ่งที่สามารถ นำมาประเมินอายุของจิตรกรรมได้ ตามประวัติของเรือกลไฟว่าเรือกลไฟมีแหล่งกำเนิดในยุโรปและอเมริกา ในประเทศไทยมีหลักฐานในจดหมายเหตุหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเรือกลไฟใช้ตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่าช่างเขียนคงเห็นและนำแบบมาเขียนไว้ และยังมีรูปปืนยาวแบบฝรั่งคือมีดาบติดปลายปืนด้วย เดิมคนไทยรู้จักใช้ปืนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รูปแบบปืนมีปลายกระบอกยาวแต่ไม่ปรากฏว่ามีดาบปลายปืน ปืนที่ตัดดาบปลายปืนเป็นแบบฝรั่งที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ถึง รัชการที่ เป็นต้นมา จึงประเมินอายุจิตรกรรมว่าคงอยู่ในราวสมัย รัชการที่ ถึง รัชการที่ 5
   เรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่เรื่อง จันทคาธชาดก และเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเรื่องจันทคาธชาดกนี้ เป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่อันดับที่ 11 ในหนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม จันทคาชาดก เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุลบุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณาเป็นต้น
   สิ่งสะท้อนจากภาพจิตรกรรม จิตรกรรมฝาผนังทุกแห่งย่อมมีคุณค่าในแง่ของการเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้น โดยเฉพาะความเป็นชาวบ้าน ซึ่งมีลักษณะเรียบง่าย โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สะท้อนความเป้นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงเสมือนเปิดโอกาศให้คนดูได้จินตนาการได้อย่างกว้างไกลทำให้รู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนาน ใจคอเบิกบานชอบกล สิ่งสะท้อนจากภาพเขียนที่เห็นได้ชัดคือการแต่งกาย โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม และปัจจุบันยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของชาวไทลื้ออีกด้วย


ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://www.rd.go.th/nan/62.0.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

      กะเหรี่ยงคอยาว                        ย้อนกลับไปในอดีต เราก็จะพบว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นประชาชนคนพื้นถิ่นของเ...